วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562


บันทึกการเรียนรูครั้งที่ 4


วันที่ 29 สิงหาคม 2562


คำศัพท์ในคาบนี้ค่ะ



อาจารย์มีกิจกรรมให้เล่น ให้ทำค่ะ



กิจกรรม เกมสื่อความหมาย



คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

1.One-Way  Communication การสื่อสารทางเดียว

2.Two-Way  Communication การสื่อสารสองทาง

3.Verbal  Communication การสื่อสารเชิงวัจนะภาษา

4.Non-Verbal  Communication การสื่อสารเชิงอวัจนะภาษา       

5.Personal    Communication การสื่อสารส่วนบุคคล

6.Intrapersonal  Communication การสื่อสารระหว่างบุคคล 

7.Mass  Communication การสื่อสารมวลชน

8.Channel ช่องทางการสื่อสาร

9.Clarity  of  audience ความสามารถของผู้รับสาร

10.Clearly ความชัดเจน



ความรูที่ได้รับ การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
 ความหมายของการสื่อสาร

• การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
• การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข


ความสำคัญของการสื่อสาร 

1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม

2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย

3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น

4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ

5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต


    รูปแบบของการสื่อสาร 

รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล(Aristotle’s

ModelofCommunication)

รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล(Lasswell’sModelofCommunication)

รูปแบบการสื่อสารของแชนนอนและวีเวอร์(Shannon&Weaver’sModelofCommunication)

รูปแบบการสื่อสารของออสกูดและชแรมม์(C.EOsgoodandWillburSchramm’s )

รูปแบบการสื่อสารของเบอร์โล(Berlo’sModelofCommunication)

 
     องค์ประกอบของการสื่อสาร 

1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)

2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)

3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)

4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)

5. ความเข้าใจและการตอบสนอง


*ผู้ส่งสารและผู้รับสาร

• ผู้จัดกับผู้ชม

• ผู้พูดกับผู้ฟัง

• ผู้ถามกับผู้ตอบ

• คนแสดงกับคนดู

• นักเขียนกับนักอ่าน

• ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว

• คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน


*สื่อ

   ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างเช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์  ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ


 *สารคือ 

  เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง ข้อแนะนำ การล้อเลียน ความปรารถนาดี  ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม


 *ประเภทของการสื่อสาร

   ได้มีจำแนกประเภทของการสื่อสารไว้แตกต่างกันหลายลักษณะทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ในที่นี้จะแสดงการจำแนกประเภทของการสื่อสาร โดยอาศัยเกณฑ์ในการจำแนกที่สำคัญ  3 ประการ คือ1.จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร2.จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก3.จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร


 *การสื่อสารกับตนเอง

การสื่อสารที่บุคคลเดียวเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสาร

การคิดหาเหตุผลโต้แย้งกับตนเองในใจ

เนื้อหาไม่มีขอบเขตุจำกัด

บางครั้งมีเสียงพึมพำดังออกมาบ้าง

บางครั้งเกิดความขัดแย้งในใจและไม่อาจตัดสินใจได้

อาจเป็นการปลอบใจตนเอง การเตือนตนเอง การวางแผน หรือแก้ปัญหาใดๆ


 *การสื่อสารระหว่างบุคคล

บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปไม่ถึงกับเป็นกลุ่ม

เป็นเรื่องเฉพาะระหว่างบุคคลอาจไม่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

อาจเป็นความลับระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารเท่านั้น

สารที่สื่ออาจเปิดเผยหากมีประโยชน์ต่อบุคคลอื่น


      *การสื่อสารสาธารณะ

มีเป้าหมายจะส่งสารสู่สาธารณชน

มีเนื้อหาที่อาจให้ความรู้และเป็นประโยชน์ให้ความเข้าใจที่ถูกต้อง

เป็นความคิดที่มีคุณค่าและเปิดเผยได้โดยไม่จำกัดเวลา

เช่น การบรรยาย การปาฐกถา  การอมรม การสอนในชั้นเรียน


 *การสื่อสารมวลชน

ลักษณะสำคัญคล้ายการสื่อสารสาธารณะ

ต้องอาศัยสื่อที่มีอำนาจการกระจายสูงรวดเร็วกว้างขวาง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียมและสื่อมวลชน 

ต้องคัดเลือกเฉพาะข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นที่เห็นว่าควรนำเสนอ

อาจสนองความต้องการและความจำเป็นของมวลชนมากหรือน้อยได้


 *การสื่อสารในครอบครัว

เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานของมนุษย์

ประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับความตั้งใจดีของสมาชิกในครอบครัว

คุณธรรมที่ดีงามในครอบครัวจะช่วยพัฒนาการสื่อสารไปในทางดีงามเสมอ

ต้องยอมรับและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่แตกต่างกัน

คนต่างรุ่นต่างวัยในครอบครัวต้องพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน

ควรคำนึงถึงมารยาทที่ดีงามอยู่เสมอ


*การสื่อสารในโรงเรียน

ส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารกับบุคคลที่คุ้นเคย

เนื้อหามักเกี่ยวกับวิชาการพื้นฐานอาชีพและหลักการดำเนินชีวิต

มีทั้งการสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารในกลุ่มและการสื่อสารสาธารณะ

อาจใช้เวลานานเพราะเรื่องราวมีปริมาณมากอาจมีโอกาสโต้แย้งถกเถียงควรยอมรับข้อเท็จจริงและไม่ใช้อารมณ์

ข้อเท็จจริงและข้อสรุปบางเรื่องไม่ควรนำไปเผยแพร่

ควรระมัดระวังคำพูดและกิริยามารยาท

คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์และการยอมรับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญ


*อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร 

ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่น ใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจหรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ

ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป

ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ

ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน

เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม

รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไปขาดการไตร่ตรอง

ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวนหรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย

อารมณ์ของผู้รับ หรือ ผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ

ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น


      *7C  กับการสื่อสารที่ดี     

Credibility  ความน่าเชื่อถือ     

Content  เนื้อหาสาระ     

Clearly  ความชัดเจน     

Context  ความเหมาะสมกับโอกาส   

Channel  ช่องทางการสื่อสาร     

Continuity  consistency  ความต่อเนื่องและแน่นอน     

Clarity  of  audience  ความสามารถของผู้รับสาร


      *คุณธรรมที่สำคัญในการสื่อสาร     

ความสัจจะและไม่ล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน    ความรัก ความเคารพและความปรารถนาดีต่อกัน    ความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนพูดหรือกระทำ เป็นกิริยาวาจาที่เรียบร้อยถูกต้องตามคตินิยม


      *วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง     

ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง    พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม


       สรุป การสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพนับเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้งานการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จ  ผู้ที่เป็นครูจะต้องทำความเข้าใจเรื่องการสื่อสารให้กระจ่างชัดเจน  เพื่อที่จะให้ทำการให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองได้ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด  เกิดความศรัทธา  เชื่อมั่นและมีความอบอุ่นว่าสถานศึกษาจะมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง บ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเด็กร่วมกัน


คำถามท้ายบท
1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป

ตอบ  การสื่อสาร คือ กระบวนการส่งข่าวสารหรือข้อมูล จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา ความสำคัญของการสื่อสาร เป็นการทำให้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เกิดความเข้าใจตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย รวมทั้งทำให้เกิดมิตรภาพที่อบอุ่นทั้งทางกายและใจ


2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร

ตอบ -เพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจตรงกันในเรื่องต่างๆอย่างสมานฉันท์            

       -เพื่อชักจูงใจให้ผู้ปกครองเกิดความร่วมมือในการปฏิบัติตนทีดี          

       -เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีและรักษามิตรภาพที่ดีระหว่างผู้ปกครองกับคุณครู


3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

ตอบ รูปแบบการสื่อสารของอริสโตเติล ได้แก่

ผู้พูด-------คำพูด-------ผู้ฟัง

เพราะเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่ายและเหมาะสมในสื่อสารระหว่างผู้ปกครองและคุณครู ในการพูดคุยปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น การปรึกษาการไม่รับประทานอาหารของเด็ก การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในการเรียน


4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร

ตอบ  -เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาการเด็ก

         -เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีสมานฉันท์

         -มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก

         -เรียนรู้ได้ดีจาการฝึกปฏิบัติ         

         -เรียนรู้ได้ดีในบรรยายกาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด

         -ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้น

ตอน   

         -เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย


5.)ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง

ตอบ -ความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจที่จะเรียนรู้

        -ความต้องการ เช่น ต้องการให้ลูกมีสุขภาพที่แข็งแรง มีการศึกษาที่ดี         

        -อารมณ์และการปรับตัว เช่น ดีใจ พอใจ  โกรธ  เสียใจ         

        -การจูงใจ เช่น ต้องการรู้เพื่อพัฒนาลูก  ต้องการรู้เพื่อให้ลูกเป็นคนดี         

        -การเสริมแรง เช่น คำชมเชย รางวัลให้ลูกมีกำลังใจ         

        -ทัศนคติและความสนใจ เช่น จัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทำให้ผู้ปกครองพอใจและสนุกกับการเรียนรู้         

        -ความถนัด ความสามารถในการทำกิจกรรมให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม ให้ความร่วมมือกันทุกคน

ประเมินตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์พูด ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆในห้อง


ประเมินผู้สอน : อาจารย์มาสอนตามเวลา แต่งกายสุภาพ นำกิจกรรมมาให้เล่น สนุกมากค่ะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น